แถลงการณ์ แม่น้ำเพื่อการฟื้นฟู


ข้อเรียกร้องระดับโลกเพื่อคุ้มครองแม่น้ำและสิทธิ ซึ่งเป็นปัจจัยที่จำเป็นเพื่อการฟื้นฟูที่เป็นธรรมและสีเขียว

 

แถลงการณ์ แม่น้ำเพื่อการฟื้นฟู


ข้อเรียกร้องระดับโลกเพื่อคุ้มครองแม่น้ำและสิทธิ ซึ่งเป็นปัจจัยที่จำเป็นเพื่อการฟื้นฟูที่เป็นธรรมและสีเขียว

การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และวิกฤติด้านสุขภาพและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประชาชนทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มชนที่อยู่ชายขอบและกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงสุด วิกฤติเหล่านี้สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวางและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบเศรษฐกิจ พลังงาน และอาหารของเรา เป็นเหตุให้ต้องมีมาตรการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียม เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในวงกว้าง ความอดอยาก การว่างงาน และความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งข้อกังวลด้านความยุติธรรมทางสังคมและบูรณภาพทางนิเวศวิทยา 

แม่น้ำและระบบนิเวศน้ำจืด เป็นปัจจัยสำคัญของการฟื้นฟูเศรษฐกิจระดับโลก หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นพื้นฐานระบบธรรมชาติ ให้บริการที่สำคัญด้านระบบของนิเวศวิทยา และยังเป็นหลักประกันด้านเศรษฐกิจสำหรับคนจนและกลุ่มเสี่ยงในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง แต่ในช่วงหลายรุ่นคนที่ผ่านมา มีการสร้างเขื่อนในแม่น้ำหลายสาย มีการผันน้ำ สร้างมลพิษ ทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อประชาชนและระบบชีวิตของโลก ส่งผลให้พันธุ์สัตว์น้ำจืดหนึ่งในสามเสี่ยงจะสูญพันธุ์  

การระบาดระดับโลกที่สร้างความเสียหายอยู่ในขณะนี้ เผยให้เห็นความไม่เท่าเทียมและปัญหาท้าทายขั้นพื้นฐานของเราในปัจจุบัน นับเป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงแนวโน้มแห่งการทำลายล้างต่อแม่น้ำและระบบน้ำจืดของเราในอนาคต ระบบธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในโลก ที่ผ่านมาเรามักเพิกเฉยต่อความสำคัญของระบบนี้ มีการแสวงหาประโยชน์เพื่อผลกำไรและ “การพัฒนา” ซึ่งให้ประโยชน์โดยหลักกับชนกลุ่มน้อยที่เป็นอภิสิทธิ์ชนบางกลุ่ม เราได้เห็นแล้วว่าแนวโน้มในระดับโลกเช่นนี้ขาดความยั่งยืน  

เราจำเป็นต้องสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการดูแลแม่น้ำ ไม่เพียงเพื่อปกป้องทรัพยากรน้ำ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิตและการสาธารณสุข หากยังต้องป้องกันไม่ให้ประเทศที่ต้องล้มละลายเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หันไปก่อหนี้ใหม่ที่สร้างผลกระทบร้ายแรง และสนับสนุนให้มีการเร่งพัฒนาด้านพลังงาน และรับมือกับวิกฤติด้านสภาวะภูมิอากาศอย่างเป็นผล แต่การเร่งผลักดันการสร้างเขื่อนในประเทศรายได้น้อยและปานกลางหลายแห่ง เป็นภัยคุกคามต่อพัฒนาการเช่นนี้ และเป็นทางออกด้านพลังงานที่หลอกลวง ได้รับการผลักดันหนุนเสริมจากอุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังน้ำ โดยอ้างว่าเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ “สีเขียว”  

ทิศทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่จอมปลอมเช่นนี้ มุ่งส่งเสริมการก่อหนี้สินให้กับประเทศต่าง ๆ ที่มีภาระหนี้มหาศาลอยู่แล้ว มุ่งเน้นทางเลือก “ที่มีภาพลักษณ์สีเขียว” แต่กลับทำลายการลงทุนในทางเลือกที่ดีกว่า ส่งเสริมระบบสายส่งไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่รวมศูนย์ เพื่อตอบสนองโครงการที่ทำลายล้าง รวมทั้งโครงการเขื่อนขนาดใหญ่และเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นการทำลายมาตรการคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำจืดอย่างมิชอบต่อไป  

เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำส่งผลกระทบร้ายแรงอย่างยิ่งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นทางออกที่จอมปลอม และไม่อาจนำไปสู่การฟื้นฟูสีเขียว เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การลงทุนในเทคโนโลยีแสงแดดและลมเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนต่ำกว่าและติดตั้งได้เร็วกว่า และสามารถสร้างงานที่คุ้มกับต้นทุนเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพื่อฟื้นฟูอนาคตที่ดีขึ้น งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจควรเน้นการลงทุนในเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่ำ และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อประชากรกลุ่มเสี่ยงและระบบนิเวศ ให้ความสำคัญกับสิทธิและการมีส่วนร่วมของชุมชน แทนที่จะมุ่งกอบกู้วิกฤติของอุตสาหกรรมที่ทำลายล้าง ซึ่งสูญเสียความสำคัญและความเป็นไปได้ด้านการเงินอย่างรวดเร็ว 

เราเรียกร้องการฟื้นฟูที่มีพื้นฐานจากความยุติธรรมด้านสภาวะภูมิอากาศ และคุ้มครองแม่น้ำของเราที่ถือเป็นเส้นเลือดที่สำคัญของเรา สนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดให้มีแหล่งน้ำ การผลิตอาหาร กลุ่มประชากรพื้นเมือง และกลุ่มประชากรที่มีวัฒนธรรมอันหลากหลายทั่วโลก แทนที่จะมุ่งสร้างเขื่อนและก่อมลพิษเพียงเพื่อผลกำไรและความเติบโตด้านเศรษฐกิจ 


เราเรียกร้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียวที่ครอบคลุมถึง 

1. 2017_isimba_dam_doc_106.jpg

ความตกลงชั่วคราวเพื่อยุติการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแห่งใหม่ โดยถือเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เป็นธรรมและยั่งยืน ทั้งนี้รวมถึงการทบทวนระบบพลังงานและโครงการท่อส่งน้ำอย่างเป็นองค์รวม เพื่อประกันการให้ความสำคัญกับการคุ้มครองระบบนิเวศน้ำจืดและอาชีพและเศรษฐกิจที่ชุมชนต้องพึ่งพา

4.+Solar-salesman-in-Kenya.-1-720x960.jpg

การเร่งการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ใช่ไฟฟ้าพลังน้ำและการจัดเก็บ รวมทั้งการกำหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนการลงทุนที่มีความรับผิดชอบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การลงทุนที่กระตุ้นให้เกิดโครงการพลังงานหมุนเวียนใหม่ ๆ สนับสนุนโครงข่ายด้านพลังงานที่รวมศูนย์และครอบคลุม สร้างงาน และสนับสนุนให้เกิดพลังงานไฟฟ้าที่มีต้นทุนและผลกระทบต่ำสำหรับประชาชนที่ขาดแคลนด้านพลังงาน รัฐบาลอาจให้เงินอุดหนุนและเงินสนับสนุนเพื่อส่งเสริมมูลค่าการลงทุนในการผลิตและจัดเก็บพลังงานหมุนเวียนในท้องถิ่น

6.+kariba_dam.jpg

พัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่มีอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ แทนที่จะสร้างเขื่อนใหม่ ทั้งนี้รวมถึงการปรับปรุงระบบกังหันน้ำ ปรับปรุงระบบสูบน้ำ และการติดตั้งระบบนวัตกรรมด้านพลังงานลม แสงแดดและอื่น ๆ เพิ่มเติม รวมทั้งระบบผลิตพลังงานร่วม (co-generation) การปรับปรุงเช่นนี้ควรเกิดขึ้นพร้อมกับการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน้ำจืดและอาชีพของชุมชน โดยจัดให้มีเงินชดเชยอย่างเหมาะสมหากต้องมีการอพยพและค่าชดเชยอื่น ๆ ควรมีการรื้อถอนเขื่อนและฟื้นฟูแม่น้ำกรณีที่โครงการเขื่อนนั้นส่งผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง จนไม่อาจบรรเทาได้

Zambezi-fisherman.jpg

การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว เพื่อคุ้มครองและฟื้นฟูระบบนิเวศน้ำจืดและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการมีกฎหมายที่คุ้มครองน้ำจืด เพื่อประกันจุดเน้นของบริการของระบบนิเวศและการสร้างงานในชุมชนท้องถิ่น ต้องดำเนินการให้มีการเจรจาระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ใช้น้ำที่เป็นชนพื้นเมืองและชุมชนต่าง ๆ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวและพลังงานหมุนเวียน ต้องเป็นไปโดยสอดคล้องกับมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและหลักการคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิทธิของชนพื้นเมืองและชุมชนตามจารีตที่มีต่อความยินยอมและการปรึกษาหารืออย่างเสรี เป็นการล่วงหน้า และเกิดจากการได้รับข้อมูล

sere-wind-farm-eskom.jpg

แผนพัฒนาพลังงานใหม่ที่เน้นการลงทุนในการประหยัดและประสิทธิภาพของพลังงาน รูปแบบการจัดการด้านอุปสงค์ของพลังงานที่มีส่วนร่วม และทางเลือกของระบบสายส่งไฟฟ้าขนาดเล็ก มีลักษณะกระจายตัว และใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งพลังงานและผู้ใช้งาน โดยเน้นที่โครงข่ายสายส่งพลังงานของชุมชน และขยายการเข้าถึงพลังงาน รัฐบาลควรยุติโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่มีค่าใช้จ่ายสูงและมีค่าก่อสร้างนานมีการทบทวนและปรับปรุงแผนพลังงาน และประเมินทางเลือกด้านการผลิตไฟฟ้าใหม่ ประกันให้มีความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของสาธารณะในทุกขั้นตอนของการวางแผนและการดำเนินงาน

fish%2Bin%2BBhutan%2B%2B2018%2BDay%2Bof%2BAction%2Bfor%2BRivers..jpg

มาตรการคุ้มครองในพื้นที่อนุรักษ์ซึ่งควรเป็นส่วนหนึ่งของแผนกระตุ้นและฟื้นฟู ทั้งนี้รวมถึงการใช้นโยบายเพื่อสนับสนุนให้มีพื้นที่ “ห้ามเข้า” เพื่อห้ามการลงทุนที่ทำลายสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อนุรักษ์ หรือพื้นที่อาศัยของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์และเป็นกลุ่มเสี่ยง การคุ้มครองให้แม่น้ำไหลอย่างเสรี และการคุ้มครองพื้นที่ของกลุ่มชนพื้นเมืองและชุมชนตามจารีตอื่น ๆ จำแนกและยุติแรงกดดันเพื่อการใช้ประโยชน์และการพัฒนาที่ทำลายล้างในพื้นที่อนุรักษ์ แทนที่จะลดทอนความเข้มแข็งของกฎหมายที่มีอยู่ รัฐบาลควรพัฒนานโยบายที่มุ่งคุ้มครองแม่น้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ และสิทธิของประชาชน

อนุมัติ